เครื่องอัดลม อุปกรณ์บีบอัดอากาศจากบรรยากาศ เพื่อให้เกิดความดันสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบหนึ่งของ”พลังงาน” อากาศที่ถูกอัดสามารถนำไปใช้งานได้ดีเสมือนหนึ่งในสามทรัพยากรของโรงงาน ได้แก่ไฟฟ้า , น้ำประปา และ ลมอัด ด้วยคุณสมบัติที่เหมาะสมและหลากหลาย การใช้งานลมได้รับความนิยมอย่างมากในลักษณะของการนำลมใช้เป็นตัวขับเครื่องจักรต่างๆ เช่น อุปกรณ์ หุ่นยนต์ เครื่องมือลมต่างๆ
Air Compressors หลักการทำงานของเครื่องอัดลม
การทำงานของเครื่องอัดลม เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่องโดยการเสียบไฟเข้าระบบ ถ้าลมยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch (ON/OFF) ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มลมทำงานด้วย และเมื่อลมภายในถังบรรจุลมมีความดันสูงถึงพิกัดที่กำหนดไว้ Presssure Switch (ON/OFF) ก็จะตัดวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์หยุดทำงานด้วย แต่เมื่อลมภายในถังบรรจุลมถูกนำไปใช้งาน และความดันภายในถังบรรจุลมต่ำลงจนถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้ Presssure Switch (ON/OFF) ก็จะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มลมทำงานต่อไป โดยการทำงานของเครื่องอัดลม จะทำงานสลับกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ ดังนั้นถ้าต้องการให้เครื่องอัดลมหยุดการทำงานจะต้องปิดสวิทช์ควบคุมการทำงาน ของเครื่องอัดลม
การจะตัดสินใจซื้อปั๊มลมหรือเครื่องมือลมนั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้
ประการแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องของแรงดันสูงสุด ที่ต้องการใช้งาน เพื่อที่จะได้ตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องอัดลมแบบ single stage หรือ two stage
ประการที่สองคือ ต้องทราบถึงปริมาณลม เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าจะซื้อเครื่องอัดลมขนาดใหญ่หรือเล็ก เป็นระบบ reciprocating type ซึ่งจะมีทั้ง oil flood, oil free, oil less type หรือ rotary screw type
ประการที่สามคือ ต้องการ clean air system ขนาดไหน ซึ่งจะมี accessories เพิ่มเติมดังนี้
1. ถังบรรจุลม (air tank) ถ้าต้องการเพิ่มปริมาตรลม
2. เครื่องลดอุณหภูมิลม (air after coller) เพื่อลดอุณหภูมิลม
3. เครื่องทำลมแห้ง (air dryer) เพื่อกำจัดน้ำออกจากระบบลมและเลือก dew point ที่ต้องการ สามารถเลือกใช้เป็น refridgeration conpressed air dryer ซึ่งจะทำให้ dew point ต่ำสุดที่ 2°C ถ้าต้องการจุด dew point ที่ต่ำกว่าก็จะต้องใช้เป็น desiccant compressed air dryer ซึ่งจะสามารถทำจุด dew point ได้ต่ำถึง
4. ตัวกรองลม (air filter) สามารถกรองได้ตั้งแต่หยาบไปถึงละเอียด แยกเป็น seperator filter, air line filter, high efficiency oil removal filter และ ultra high efficiency oil removal filter ซึ่งทั้งหมดสามารถดักหรือกรองฝุ่น (ทั้งของแข็งและของเหลว) 3–0.01 ไมครอน คงเหลือน้ำมันอยู่ในปริมาณ 5–0.001 ppm w/w (mg/m³) และอาจเพิ่มตัวดักกลิ่น (activated carbon filter) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยาหรือห้องทดลองต่าง ๆ